วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

4.2ส่วนประกอบของ Mainboard

 ส่วนประกอบของ Mainboard

เมนบอร์ด หรือ มาสเตอร์บอร์ด

computer mainboard
Main Board หรือ?Master Board เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ จะติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ส่วนประกอบหลักของเมนบอร์ด ประกอบด้วย
  • พอร์ต (port)
    เป็นจุดที่ให้เมนบอร์ดติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เม้าส์ เป็นต้น
  • สล๊อตหน่วยความจำ (memory slot)
    เป็นซ๊อกเกตบนเมนบอร์ดสำหรับเสียบแผงหน่วยความจำหลักของเครื่อง
  • ชิปเซต (chipset)
    เป็นชุดของชิปที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลบนเมนบอร์ด
  • หน่วยความจำ แคช (cache memory)
    ทำหน้าที่พักข้อมูลที่เพิ่งถูกเรียกใช้ เมื่อถูกเรียกใช้งานซ้ำ ซีพียูจะดึงข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ขึ้นมาใช้ เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของแคชเมมโมรี่ คือ L1, L2 ยิ่งมีขนาดใหญ่ ยิ่งทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น
  • โปรเซสเซอร์ ซ็อกเกต (processor socket)
    เป็นที่ติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด
  • จัมเปอร์ (jumper)
    ใช้สำหรับการปรับแต่งการใช้เมนบอร์ด เช่นกำหนดเรื่องความเร็วของซีพียู เป็นต้น ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับ mainboard ไม่จำเป็นต้องมีการเซ็ทจัมเปอร์แล้ว แต่จะเป็นการเซ็ทแบบอัตโนมัติให้
  • สล็อตการ์ดขยาย (expansion slot)
    เป็นช่องสำหรับเสียบการ์ดที่ทำหน้าที่ขยายความสามารถของคอมพิวเตอร์
  • ชิปไบออส (bios ย่อมาจาก basic imput/output system)
    ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ติดบนเมนบอร์ด
  • ชิปซีมอส (cmos ย่อมาจาก complementary metal oxide semiconductor)
    ทำหน้าที่เก็บเวลาของระบบและค่าต่าง ๆ ที่ bios ได้กำหนดไว้ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไฟมาเลี้ยงจากแบตเตอร์รี่ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับซีมอส

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

4.1ส่วนประกอบของแผงวงจรหลัก

ส่วนประกอบของแผงวงจรหลัก(Main Board)
1.     แบตเตอรี่ (Battery)  เมนบอร์ดจะมีแบตเตอรี่เล็ก ๆ  ที่ให้กับพวกเครื่องคิดเลข  หรือนาฬิกาติดไว้ เพื่อส่งไฟฟ้าหล่อเลี้ยงชิปเก็บข้อมูลบางตัว และทำหน้าที่เป็นนาฬิกาเดิมนับเวลาอยู่ตลอดยามที่ปิดเครื่อง
2.     การ์ดไอโอ I/O (I/O Card)  I/O ย่อมาจาก Input/Output เป็นการ์ดในการควบคุมการทำงานของฟลอปปีไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์  พอร์ตอนุกรม  และพอร์ตขนาน
3.     การ์ดวิดีโอ (Adapter Card)  การ์ดวิดีโอเป็นการ์ดควบคุมการแสดงผลบนจอ โดยจะส่งข้อมูลผ่านสัญญาณเข้าสู่จอ  การ์ดวิดีโอนี้จะมีหน่วยความจำวิดีโอของมันเองด้วย  ถ้าหน่วยความจำบนการ์ดมากก็จะแสดงสีและความละเอียดได้มาก
4.     สลอต (Slot) สลอตเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาววางเป็นแนวบนเมนบอร์ด ซึ่งทำหน้าที่เป็นคอนเน็กเตอร์เชื่อมต่อระหว่างการ์ดเมนบอร์ด  การ์ดทุกตัวจะทำงานได้จะต้องเสียบบนสลอตเสมอ
5.     รอม (ROM) Read-Only Memory  หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว  เขียนใส่ไม่ได้       รอมนี้จะเก็บข้อมูลถาวรเกี่ยวกับการเซตระบบ  ที่เรียกว่า BIOS” (Basic Input Output System)
6.      ชิปพิเศษ (Ship) ช่วยในการประมวลผล
7.      ลำโพง  ลำโพงทำหน้าที่ขับเสียงสัญญาณของเครื่อง
8.     แรม (RAM) เมื่อเปิดเครื่อง แรมก็เริ่มทำงาน โดยระบบปฏิบัติการเช่น MS-DOS จะโหลดโปรแกรมเข้าสู่แรมเพื่อเริ่มต้นทำงาน  ทันทีที่ปิดเครื่องข้อมูลในแรมจะหายไปทันที
9.     หม้อแปลงไฟ (Power Supply)  ไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรของเมนบอร์ดใช้ระดับไฟ 5 โวลต์  และ 12 โวลต์  แต่ไฟฟ้าที่บ้านเป็น 220 โวลต์  เพราะฉะนั้นจะต้องมรการแปลงไฟฟ้าเสียก่อน  โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าหรือที่เรียกว่า เพาเวอร์ซัปพลาย
10.   ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของระบบ  โดยส่วนใหญ่ฮาร์ดดิสก์จะถูกใช้เก็บโปรแกรมระบบปฏิบัติการ  โปรแกรมทำงาน  และข้อมูลต่าง ๆ  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลในฮาร์ดดิสก์จะไม่สูญหายไป
11.    ซ็อกเกตแรม (Socket RAM) เป็นที่สำหรับใส่แรม เป็นลักษณะเป็นสีเหลี่ยมสีเขียวยาวเป็นแท่ง
12.    ฟลอปปีไดรฟ์  มี 2 ขนาดให้คือ 3.5 นิ้ว  และ 5.25 นิ้ว  ไดรฟ์นี้ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่นฟลอปปีดิสก์
13.   ซีพียู (CPU)  เป็นหน่วยประมวลผลทำการคำนวณ  ต่าง ๆ  เกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนข้อมูลหรือการเรียกใช้โปรแกรมต่าง ๆ  โดยตั้งชื่อรุ่นพีซี  เช่น Intel 486 และ Pentium  เป็นต้น
14.   เมนบอร์ด (Main Board) เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่บรรจุอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ แผ่นเมนบอร์ดทำด้วยไฟเบอร์กลาส    ลวดลายที่เห็นเป็นลายวงจรนั้นเป็นโลหะทองแดงซึ่งนำ
     ไฟฟ้าได้ดี


รูปส่วนประกอบใน Main Board